เมนู

ทิฏฐิ ตรัสรู้แล้ว เป็นทุกข์มากกว่า ส่วนที่เหลืออยู่มีประมาณน้อย
ความที่ทุกข์เป็นสภาพยิ่งใน 7 อัตภาพ เมื่อเทียบเข้ากับกองทุกข์ที่หมดไป
สิ้นไปอันมีในก่อน ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ 100 เสี้ยวที่ 1,000 เสี้ยวที่
100,000 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การตรัสรู้ธรรมให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่
อย่างนี้แล การได้ธรรมจักษุให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้.
จบโปกขรณีสูตรที่ 2

อรรถกถาโปกขรณีสูตรที่ 2



ในโปกขรณีสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า โปกฺขรณี ได้แก่บึง. บทว่า อุพเพเธน ได้แก่เพราะลึก.
บทว่า สมติตฺติกา ได้แก่เสมอขอบปาก. บทว่า กากเปยฺยา ความว่า
กาอยู่ที่ฝั่งใหญ่ สามารถจะหย่อนจะงอยปากลงไปดื่มเองตามปกติได้.
จบอรรถกถาโปกขรณีสูตรที่ 2

3. ปฐมสัมเภชอุทกสูตร



ว่าด้วยแม่น้ำ 5 สาย ไหลมาบรรจบกัน



[315] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
แม่น้ำใหญ่เหล่านี้คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลมาบรรจบกัน
บุรุษพึงวักน้ำขึ้นสองสามหยาดจากที่นั้น เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน น้ำสองสามหยาดที่บุรุษวักขึ้นแล้วก็ดี น้ำในที่บรรจบกันก็ดี

ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
น้ำในที่นี้บรรจบกันนี้แหละมากกว่า หยาดน้ำสองสามหยาดที่บุรุษวักขึ้นแล้ว
มีประมาณน้อย หยาดน้ำสองสามหยาดที่บุรุษวักขึ้นแล้วเมื่อเทียบเข้ากับ
น้ำในที่บรรจบกัน ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ 100 เสี้ยวที่ 1,000 เสี้ยวที่
100,000 แม้ฉันใด.
[ 316] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ การได้
ธรรมจักษุให้สำเร็จประโยชน์อย่างนี้.
จบปฐมสัมเภชอุทกสูตรที่ 3

อรรถกถาปฐมสัมเภชอุทกสูตรที่ 3



ในปฐมสัมเภชอุทกสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ยตฺถิมา ความว่า แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ ในที่แยกกันใด
บทว่า สํสนฺทนฺติ ความว่า ไหลไปโดยชอบ. บทว่า สเมนฺติ ได้แก่
มาประจวบกัน. บทว่า เทฺว วา ตีณิ วา แปลว่า 2 หรือ 3. บทว่า
อุทกผุสิตานิ ได้แก่หยาดน้ำ. บทว่า สมฺเภชฺชอุทกํ ได้แก่น้ำในที่แยก
กับแม่น้ำอื่น ๆ.
จบอรรถกถาปฐมสัมเภชอุทกสูตรที่ 3

4. ทุติยสัมเภชอุทกสูตร



ว่าด้วยแม่น้ำ 5 สาย



[317] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-